นโม ตัสสะ ภควโต อรหโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
สารบัญ: ห้วเรื่อง, เลขข้อ | ไฟล์เดียว: html, text | [ค้นหา] [สารบัญ] <ก่อนนี้] [ถัดไป>

เนตติปกรณ์แปล : 6. จตุพยูหหารสัมปาตะ

       
       [68] ในหารสัมปาตะ 16 นั้น การประชุมจตุพยูหหาระเป็นไฉน
       คาถาว่า "ตสฺมา รกฺขิตจิตฺตสฺส สมฺมาสงฺกปฺปโคจโร" เป็นต้น ฯ ในจตุพยูหคือ นิรุตติ อธิปปายะ นิทานและสนธินั้น พระสูตรว่า "ตสฺมา รกฺขิตจิตฺตสฺส"เป็นต้นนี้ มีวิเคราะห์ว่า ชื่่อว่า รักขิตะ เพราะอรรถะว่า อันบุคคลรักษา ชื่อว่า จิตเพราะอรรถะว่า คิด ชื่อว่า สัมมาสังกัปปะ เพราะอรรถะว่า ตรึกโดยชอบเป็นต้นนี้ ชื่อว่า นิรุตติ หรือ เนรุตติ ฯ ในจตุพยูหะนี้ อะไร เป็นอธิปปายะ(ความประสงค์) ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ความประสงค์ของพระผู้มีพระภาคเจ้านี้ ในพระสูตรนี้ว่า "สัตว์เหล่าใด ปรารถนาเพื่อจะพ้นจากทุคติ สัตว์เหล่านั้นจักประพฤติธรรม" ดังนี้ ฯ ก็พระโกกาลิกะไม่รักษาจิต ประทุษร้ายพระสารีบุตรเถระและพระโมคคัลลานเถระ เป็นผู้เข้าถึงมหาปทุมนรก นี้เป็นนิทาน ฯ พระผู้มีพระภาคเจ้าประกอบด้วยจิตมีสติเป็นเครื่องรักษา และในพระสูตรว่า บุคคลพึงรักษาจิตด้วยสติ นี้เป็นสนธิเบื้องต้น ส่วนพระสูตรว่า "เพราะเหตุนั้น ภิกษุพึงเป็นผู้รักษาจิต ฯลฯ พึงละทุคติทั้งปวง" เป็นอนุสนธิ ย่อมหลั่งไหลไป ย่อมประชุมกัน เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า สนธิ (ต่อ) เบื้องต้นและเบื้องปลาย แล ฯ
       จบ จตุพยูหหารสัมปาตะ
       7. อาวัฏฏหารสัมปาตะ
[ค้นหา] [สารบัญ] <ก่อนนี้] [ถัดไป>
(ไม่สงวนลิขสิทธิ์)