นโม ตัสสะ ภควโต อรหโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
สารบัญ: ห้วเรื่อง, เลขข้อ | ไฟล์เดียว: html, text | [ค้นหา] [สารบัญ] <ก่อนนี้] [ถัดไป>

เนตติปกรณ์แปล : สีหวิกีฬิตนัย

       
       [82] ก็ธรรมเหล่าใด (ที่เป็นทิศ) พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า "กุศลและอกุศล"ในไวยากรณ์ทั้งหลาย ธรรมเหล่านั้น บัณฑิตพึงใคร่ครวญ โดยภาวะ 2 อย่างคือโลกวัฏฏานุสารี (หมุนไปตามโลก) และโลกวิวัฏฏานุสารี (ไม่หมุนไปตามโลก) ฯ
       สังสาร ชื่อว่า วัฏฏะ ฯ พระนิพพาน ชื่อว่า วิวัฏฏะ ฯ กรรมและกิเลสเป็นเหตุแห่งสังสาร ฯ บรรดากรรมและกิเลสนั้น บัณฑิตพึงแสดงว่า เจตนาเป็นกรรม และเป็นเจตสิก ฯ คำนั้นพึงเห็นได้อย่างไร กรรมพึงเห็นได้โดยการสั่งสม กิเลสแม้ทั้งหมดพึงเห็นได้ด้วยวิปลาส ฯ กิเลสเหล่านั้น พึงเห็นได้ในที่ไหน ในกองแห่งกิเลสมีวัตถุ 10 หมวด ฯ วัตถุ 10 หมวดเป็นไฉน วัตถุ 10 คืออาหาร 4 วิปลาส 4 อุปาทาน 4,โยคะ 4 คันถะ 4 อาสวะ 4,โอฆะ 4 สัลละ 4 วิญญาณฐิติ 4,การถึงอคติ 4 ฯ,
       วิปลาสที่ 1 (รูปสุภะ) ย่อมเป็นไปในกวฬิงการาหารที่ 1 เป็นอารมณ์,วิปลาสที่ 2 ย่อมเป็นไปในอาหารที่ 2 เป็นอารมณ์,วิปลาสที่ 3 ย่อมเป็นไปในอาหารที่ 3 เป็นอารมณ์,วิปลาสที่ 4 ย่อมเป็นไปในอาหารที่ 4 เป็นอารมณ์ ฯ
       อุปาทานที่ 1 (กาม) ย่อมเป็นไปในวิปลาสที่ 1 เป็นอารมณ์,อุปาทานที่ 2 ย่อมเป็นไปในวิปลาสที่ 2 เป็นอารมณ์,อุปาทานที่ 3 ย่อมเป็นไปในวิปลาสที่ 3 เป็นอารมณ์,อุปาทานที่ 4 ย่อมเป็นไปในวิปลาสที่ 4 เป็นอารมณ์ ฯ
       โยคะที่ 1 (กาม) ย่อมเป็นไปในอุปาทานที่ 1 เป็นอารมณ์,โยคะที่ 2 ย่อมเป็นไปในอุปาทานที่ 2 เป็นอารมณ์,โยคะที่ 3 ย่อมเป็นไปในอุปาทานที่ 3 เป็นอารมณ์,โยคะที่ 4 ย่อมเป็นไปในอุปาทานที่ 4 เป็นอารมณ์ ฯ
       คันถะที่ 1 (อภิชฌา) ย่อมเป็นไปในโยคะที่ 1 เป็นอารมณ์,คันถะที่ 2 ย่อมเป็นไปในโยคะที่ 2 เป็นอารมณ์,คันถะที่ 3 ย่อมเป็นไปในโยคะที่ 3 เป็นอารมณ์,คันถะที่ 4 ย่อมเป็นไปในโยคะที่ 4 เป็นอารมณ์ ฯ
       อาสวะที่ 1 (กาม) ย่อมเป็นไปในคันถะที่ 1 เป็นอารมณ์,อาสวะที่ 2 ย่อมเป็นไปในคันถะที่ 2 เป็นอารมณ์,อาสวะที่ 3 ย่อมเป็นไปในคันถะที่ 3 เป็นอารมณ์,อาสวะที่ 4 ย่อมเป็นไปในคันถะที่ 4 เป็นอารมณ์ ฯ
       โอฆะที่ 1 (กาม) ย่อมเป็นไปในอาสวะที่ 1 เป็นอารมณ์,โอฆะที่ 2 ย่อมเป็นไปในอาสวะที่ 2 เป็นอารมณ์,โอฆะที่ 3 ย่อมเป็นไปในอาสวะที่ 3 เป็นอารมณ์,โอฆะที่ 4 ย่อมเป็นไปในอาสวะที่ 4 เป็นอารมณ์ ฯ
       สัลละ (ลูกศร) ที่ 1 (ราคะ) เป็นไปในโอฆะที่ 1 เป็นอารมณ์,สัลละที่ 2 เป็นไปในโอฆะที่ 2 เป็นอารมณ์,สัลละที่ 3 เป็นไปในโอฆะที่ 3 เป็นอารมณ์,สัลละที่ 4 เป็นไปในโอฆะที่ 4 เป็นอารมณ์ ฯ
       วิญญาณฐิติที่ 1 เป็นไปในลูกศร (สัลละ) ที่ 1 เป็นอารมณ์,วิญญาณฐิติที่ 2 เป็นไปในลูกศรที่ 2 เป็นอารมณ์,วิญญาณฐิติที่ 3 เป็นไปในลูกศรที่ 3 เป็นอารมณ์,วิญญาณฐิติที่ 4 เป็นไปในลูกศรที่ 4 เป็นอารมณ์ ฯ
       อคติที่ 1 (ฉันทะ) เป็นไปในวิญญาณฐิติที่ 1 เป็นอารมณ์,อคติที่ 2 เป็นไปในวิญญาณฐิติที่ 2 เป็นอารมณ์,อคติที่่ 3 เป็นไปในวิญญาณฐิติที่ 3 เป็นอารมณ์,อคติที่ 4 เป็นไปในวิญญาณฐิติที่ 4 เป็นอารมณ์ ฯ
       [83] ในธรรมที่เป็นปัจจัยมีอาหารเป็นต้นเหล่านั้น กวฬิงการาหารและผัสสาหารอันใด อาหาร 2 เหล่านี้ เป็นเครื่องเศร้าหมองของบุคคลผู้ตัณหาจริต ฯ
       มโนสัญเจตนาหารและวิญญาณาหารอันใด ทั้ง 2 นี้ เป็นเครื่องเศร้าหมองของบุคคลผู้มีทิฏฐิจริต ฯ
       ในวิปลาสเหล่านั้น วิปลาสในสิ่งที่ไม่งามว่างาม และวิปลาสในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าสุขอันใด ทั้ง 2 นี้ เป็นเครื่องเศร้าหมองของบุคคลผู้ตัณหาจริต วิปลาสในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง และวิปลาสในสิ่งที่มิใช่ตนว่าตนอันใด ทั้ง 2 นี้เป็นเครื่องเศร้าหมองของบุคคลผู้ทิฏฐิจริต ฯ
       ในอุปาทานเหล่านั้น กามุปาทานและภวุปาทาน อันใด ทั้ง 2 นี้ เป็นเครื่องเศร้าหมองของบุคคลผู้ตัณหาจริต ทิฏฐุปาทานและอัตตวาทุปาทาน อันใด ทั้ง 2นี้เป็นเครื่องเศร้าหมองของบุคคลผู้ทิฏฐิจริต ฯ
       ในโยคะเหล่านั้น กามโยคะและภวโยคะ อันใด ทั้ง 2 นี้เป็นเครื่องเศร้าหมองของบุคคลผู้ตัณหาจริต ทิฏฐิโยคะและอวิชชาโยคะ อันใด ทั้ง 2 นี้ เป็นเครื่องเศร้าหมองของบุคคลผู้ทิฏฐิจริต ฯ
       ในคันถะเหล่านั้น อภิชฌากายคันถะและพยาปาทคันถะ อันใด ทั้ง 2 นี้เป็นเครื่องเศร้าหมองของบุคคลผู้ตัณหาจริต ปรามาสกายคันถะและอิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ อันใด ทั้ง 2 นี้ เป็นเครื่องเศร้าหมองของบุคคลผู้ทิฏฐิจริต ฯ
       ในอาสวะเหล่านั้น กามาสวะและภวาสวะ อันใด ทั้ง 2 นี้ เป็นเครื่องเศร้าหมองของบุคคลผู้ตัณหาจริต ทิฏฐาสวะและอวิชชาสวะ อันใด ทั้ง 2 นี้ เป็นเครื่องเศร้าหมองของบุคคลผู้ทิฏฐิจริต ฯ
       ในโอฆะเหล่านั้น กาโมฆะและภโวฆะ อันใด ทั้ง 2 นี้ เป็นเครื่องเศร้าหมองของบุคคลผู้ตัณหาจริต ทิฏโฐฆะและอวิชโชฆะ อันใด ทั้ง 2 นี้ เป็นเครื่องเศร้าหมองของบุคคลผู้ทิฏฐิจริต ฯ
       ในสัลละเหล่านั้น ลูกศรคือราคะและลูกศรคือโทสะ อันใด ทั้ง 2 นี้ เป็นเครื่องเศร้าหมองของบุคคลผู้ตัณหาจริต ลูกศรคือมานะและลูกศรคือโมหะ อันใด ทั้ง 2 นี้ เป็นเครื่องเศร้าหมองของบุคคลผู้ทิฏฐิจริต ฯ
       ในวิญญาณฐิติเหล่านั้น วิญญาณฐิติที่เข้าถึงรูปและวิญญาณฐิติที่เข้าถึงเวทนา อันใด ทั้ง 2 นี้ เป็นเครื่องเศร้าหมองของบุคคลผู้ตัณหาจริต วิญญาณฐิติที่เข้าถึงสัญญาและวิญญาณฐิติที่เข้าถึงสังขาร อันใด ทั้ง 2 นี้ เป็นเครื่องเศร้าหมองของบุคคลผู้ทิฏฐิจริต ฯ
       ในอคติเหล่านั้น ฉันทาคติและโทสาคติ อันใด ทั้ง 2 นี้ เป็นเครื่องเศร้าหมองของบุคคลผู้ตัณหาจริต ภยาคติและโมหาคติ อันใด ทั้ง 2 นี้ เป็นเครื่องเศร้าหมองของบุคคลผู้ทิฏฐิจริต ฯ
       [84] บรรดาธรรมเหล่านั้น วิปลาส "ในสิ่งที่ไม่งามว่างาม" ในกวฬิงการาหารวิปลาส "ในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข" ในผัสสาหาร วิปลาส "ในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง" ในวิญญาณาหาร วิปลาส "ในสิ่งที่ไม่ใช่ตัวตนว่าตน" ในมโนสัญเจตนาหาร บุคคลผู้ตั้งอยู่ในวิปลาสที่ 1 ย่อมยึดมั่นกามทั้งหลาย การยึดมั่นนี้ เรียกว่ากามุปาทาน ฯ บุคคลผู้ตั้งอยู่ในวิปลาสที่ 2 ย่อมยึดมั่นภพอันเป็นอนาคต นี้เรียกว่า ภวุปาทาน บุคคลผู้ตั้งอยู่ในวิปลาสที่ 3 ย่อมยึดมั่นซึ่งทิฏฐิอันเพลิดเพลินในสังสาร นี้เรียกว่า ทิฏฐุปาทาน ฯ บุคคลผู้ตั้งอยู่ในวิปลาสที่ 4 ย่อมยึดมั่นซึ่งตนว่าสมควร นี้เรียกว่า อัตตวาทุปาทาน ฯ
       บุคคลอันกามุปาทานใด ผูกไว้กับกามทั้งหลาย ธรรมคือ กามุปาทานนี้เรียกว่า กามโยคะ ฯ บุคคลอันภวุปาทานใด ผูกไว้กับภพทั้งหลาย ธรรมคือภวุปาทาน นี้เรียกว่า ภวโยคะ ฯ บุคคลอันทิฏฐุปาทานใด ผูกไว้กับทิฏฐิธรรมคือทิฏฐุปาทานนี้ เรียกว่า ทิฏฐิโยคะ ฯ บุคคลอันอัตตวาทุปาทานใดผูกไว้กับอวิชชา ธรรมคือ อัตตวาทุปาทานนี้ เรียกว่า อวิชชาโยคะ ฯ
       บุคคลผู้ตั้งอยู่ในโยคะที่ 1 นามกายย่อมผูก คือย่อมสืบต่อด้วยอภิชฌาอันมีลักษณะเพ่งเล็ง (โลภ) ในวัตถุของคนอื่นนี้ ท่านเรียกว่า อภิชฌากายคันถะ ฯ บุคคลผู้ตั้งอยู่ในโยคะที่ 2 นามกายย่อมผูก คือย่อมสืบต่อด้วยพยาบาทอันมีลักษณะยังจิตให้ประทุษร้าย ในอาฆาตวัตถุทั้งหลายนี้ ท่านเรียกว่าพยาปาทกายคันถะ ฯ บุคคผู้ตั้งอยู่ ในโยคะที่ 3 นามกายย่อมผูก คือ ย่อมสืบต่อด้วยการยึดมั่นนี้ ท่านเรียกว่า ปรามาสกายคันถะ ฯ บุคคลผู้ตั้งอยู่ในโยคะที่ 4 นามกายย่อมผูก คือย่อมสืบต่อด้วยการยึดมั่นว่า สิ่งนี้เท่านั้นจริง นี้ท่านเรียกว่า อิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ ฯ
       กิเลสทั้งหลายของบุคคลนั้นผูกไว้แล้วอย่างนี้ ย่อมไหลไปฯ กิเลสทั้งหลายเหล่านี้ ย่อมไหลไปแต่ที่ไหน ย่อมไหลไปแต่อนุสัย หรือแต่ปริยุฏฐาน ฯ ในกิเลสเหล่านั้น ชื่อว่า กามาสวะเป็นธรรมสำเร็จแล้ว เพราะเป็นสภาพแห่งกามราคะอันสำเร็จแล้วโดยอภิชฌากายคันถะ ชื่อว่า ภวาสวะเป็นธรรมสำเร็จแล้วด้วยความสำเร็จโดยพยาปาทกายคันถะ ชื่อว่า ทิฏฐาสวะเป็นธรรมสำเร็จแล้วด้วยความสำเร็จโดยปรามาสกายคันถะ ชื่อว่า อวิชชาสวะเป็นธรรมสำเร็จแล้วด้วยความสำเร็จโดยอิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ ฯ
       อาสวะ 4 เหล่านี้ของบุคคลนั้นถึงความมั่งคั่งแล้ว ท่านเรียกว่า โอฆะเพราะอรรถะว่าถ่วงลง คือให้จมลงในวัฏฏะ เพราะฉะนั้น ชื่่อว่า ความมั่งคั่งแห่งโอฆะ เพราะความมั่งคั่งแห่งอาสวะ ฯ ในโอฆะเหล่านั้น ชื่อว่า กาโมฆะ สำเร็จแล้วด้วยกามาสวะ ชื่อว่า ภโวฆะสำเร็จแล้วด้วยภวาสวะ ชื่อว่า ทิฏโฐฆะ สำเร็จแล้วด้วยทิฏฐาสวะ ชื่อว่า อวิชโชฆะสำเร็จแล้วด้วยอวิชชาสวะ ฯ
       โอฆะ 4 เหล่านี้ ของบุคคลผู้พรั่งพร้อมแล้วนั้น ถึงความเป็นไปร่วมกับอนุสัย เข้าไปสู่อัธยาสัย กระทบแล้วซึ่งหทัยตั้งอยู่ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกว่า สัลละ (ลูกศร) เพราะถอนได้โดยยาก ฯ ในลูกศรเหล่านั้น ชื่อว่า ลูกศร คือราคะ เป็นธรรมสำเร็จแล้วด้วยกาโมฆะ ชื่อว่า ลูกศร คือโทสะ เป็นธรรมสำเร็จแล้วด้วยภโวฆะ ชื่อว่า ลูกศร คือมานะ เป็นธรรมสำเร็จแล้วด้วยทิฏโฐฆะ ชื่อว่าลูกศร คือโมหะ เป็นธรรมสำเร็จแล้วด้วยอวิชโชฆะ ฯ
       วิญญาณของบุคคลนั้น อันลูกศร 4 เหล่านี้ ไม่ให้โอกาสแล้ว ถือเอาโดยรอบ ย่อมตั้งอยู่ในธรรม 4 คือ ในรูป เวทนา สัญญา และสังขาร อันเป็นอารมณ์ ฯ ในลูกศรเหล่านั้น ชื่อว่า วิญญาณฐิติ (การตั้งอยู่ของวิญญาณ) ที่เข้าถึงรูป เพราะวิญญาณสัมปยุตด้วยความยินดีอันมีลูกศรคือราคะเป็นเหตุ ชื่อว่าวิญญาณฐิติที่เข้าถึงเวทนา เพราะวิญญาณสัมปยุตด้วยความพอใจมีลูกศร คือโทสะเป็นเหตุ ชื่อว่า วิญญาณฐิติที่เข้าถึงสัญญา เพราะวิญญาณสัมปยุตด้วยความพอใจมีลูกศร คือ มานะเป็นเหตุ ชื่อว่า วิญญาณฐิติที่เข้าถึงสังขาร เพราะวิญญาณสัมปยุตด้วยความพอใจมีลูกศร คือโมหะเป็นเหตุ ฯ
       วิญญาณของบุคคลนั้น อันวิญญาณฐิติ 4 เหล่านี้อุปถัมภ์แล้ว ย่อมถึงความลำเอียง 4 อย่าง คือ ลำเอียงเพราะฉันทะ เพราะโทสะ เพราะความกลัวเพราะโมหะ ในอคติ 4 เหล่านั้น บุคคลย่อมถึงฉันทาคติเพราะราคะ ย่อมถึงโทสาคติเพราะโทสะ ย่อมถึงภยาคติเพราะความกลัว ย่อมถึงโมหาคติเพราะโมหะ ฯ ก็กรรมใดที่กล่าวไว้ก่อนว่า เจตนาเจตสิก กรรมนั้นด้วย กิเลสทั้งหลายเหล่านี้ด้วย นี้เป็นเหตุแห่งสังสาร กิเลสทั้งปวง บัณฑิตพึงแสดงด้วยวิปลาส 4อย่างนี้ ฉะนี้แล ฯ
       [85] บรรดาพระสูตร 10 มีอาหาร 4 เป็นต้นเหล่านั้น กวฬิงการาหาร เป็นวิปลาส "ในสิ่งที่ไม่งาม ว่างาม" เป็นกามุปาทาน เป็นกามโยคะ เป็นอภิชฌากายคันถะ เป็นกามาสวะ เป็นกาโมฆะ เป็นลูกศรคือราคะ เป็นวิญญาณฐิติที่เข้าถึงรูป และเป็นการเข้าถึงความลำเอียงเพราะฉันทะ ดังนี้ ชื่อว่า ทิศที่ 1 ผัสสาหารเป็นวิปลาส "ในสิ่งที่เป็นทุกข์ ว่าสุข" ดังนี้ เป็นภวุปาทาน เป็นภวโยคะ เป็นพยาปาทกายคันถะ เป็นภวาสวะ เป็นภโวฆะ เป็นลูกศรคือโทสะเป็นวิญญาณฐิติที่เข้าถึงเวทนา และเป็นการถึงความลำเอียงเพราะโทสะ ดังนี้ชื่อว่า ทิศที่ 2 วิญญาณาหารเป็นวิปลาส "ในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง" ดังนี้ เป็นทิฏฐุปาทานเป็นทิฏฐิโยคะ เป็นปรามาสกายคันถะ เป็นทิฏฐาสวะ เป็นทิฏโฐฆะ เป็นลูกศรคือมานะ เป็นวิญญาณฐิติที่เข้าถึงสัญญา และเป็นการถึงความลำเอียงเพราะความกลัว ดังนี้ ชื่อว่า ทิศที่ 3 มโนสัญเจตนาหารเป็นวิปลาส "ในสิ่งที่ไม่ใช่ตน ว่าเป็นตน" ดังนี้ เป็นอัตตวาทุปาทาน เป็นอวิชชาโยคะ เป็นอิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ เป็นอวิชชาสวะ เป็นอวิชโชฆะ เป็นลูกศรคือโมหะ เป็นวิญญาณฐิติที่เข้าถึงสังขาร และเป็นการถึงความลำเอียงเพราะโมหะ ดังนี้ ชื่อว่า ทิศที่ 4 ในพระสูตร 10 มีอาหาร 4 เป็นต้นนั้น กวฬิงการาหารอันใด และวิปลาสว่า"อสุเภ สุภํ" ดังนี้ อันใดจัดเป็นกามุปาทาน เป็นกามโยคะ เป็นอภิชฌากายคันถะเป็นกามาสวะ เป็นกาโมฆะ เป็นลูกศรคือราคะ เป็นวิญญาณฐิติที่เข้าถึงรูปและเป็นการถึงอคติเพราะฉันทะ ดังนี้ อรรถะแห่งพระสูตร 10 เหล่านี้อย่างเดียวกัน พยัญชนะเท่านั้นต่างกัน ธรรมเหล่านี้ เป็นอุปกิเลส (เครื่องเศร้าหมอง) ของบุคคลผู้ราคจริต ฯ
       ในพระสูตร 10 เหล่านั้น ผัสสาหารอันใด วิปลาสว่า "ทุกฺเข สุขํ" ดังนี้อันใดจัดเป็นภวุปาทาน เป็นภวโยคะ เป็นพยาปาทกายคันถะ เป็นภวาสวะเป็นภโวฆะ เป็นลูกศรคือโทสะ เป็นวิญญาณฐิติที่เข้าถึงเวทนา และเป็นการถึงอคติเพราะโทสะ ดังนี้ พระสูตร 10 เหล่านี้ มีอรรถะอย่างเดียวกัน พยัญชนะเท่านั้นต่างกัน ธรรมเหล่านี้ เป็นอุปกิเลสของบุคคลผู้โทสจริต ฯ
       ในพระสูตร 10 เหล่านั้น วิญญาณาหารอันใด วิปลาสว่า "อนิจฺเจ นิจฺจํ"ดังนี้ อันใดจัดเป็นทิฏฐุปาทาน เป็นทิฏฐิโยคะ เป็นปรามาสกายคันถะ เป็นทิฏฐาสวะ เป็นทิฏโฐฆะ เป็นลูกศรคือมานะ เป็นวิญญาณฐิติที่เข้าถึงสัญญา และเป็นการถึงอคติเพราะกลัว ดังนี้ พระสูตรเหล่านี้มีอรรถะอย่างเดียวกัน มีพยัญชนะเท่านั้นต่างกัน ธรรมเหล่านี้ เป็นอุปกิเลสของทิฏฐิจริตมันทบุคคล ฯ
       ในอาหาร 4 เหล่านั้น กวฬิงการาหารอันใด ผัสสาหารอันใด อาหารทั้ง 2นี้ย่อมถึงซึ่งการรู้รอบ (ปริญญา) ด้วยวิโมกขมุข ชื่อว่า อัปปณิหิตะ วิญญาณาหารย่อมถึงซึ่งการรอบรู้ด้วยวิโมกขมุข ชื่อว่า สุญญตะ มโนสัญเจตนาหารย่อมถึงซึ่งการรู้รอบด้วยวิโมกขมุข ชื่อว่า อนิมิตตะ ฯ
       ในวิปลาส 4 เหล่านั้น วิปลาสว่า "อสุเภ สุภํ" ดังนี้อันใด และวิปลาสว่า"ทุกฺเข สุขํ" ดังนี้อันใด วิปลาสทั้ง 2 นี้ย่อมถึงการละ อันตั้งอยู่ไม่ได้ ด้วยอัปปณิหิตวิโมกขมุข ฯ วิปลาสว่า "อนิจฺเจ นิจฺจํ" ดังนี้ วิปลาสนี้ย่อมถึงการละตั้งอยู่ไม่ได้ ด้วยสุญญตวิโมกขมุข ฯ วิปลาสว่า "อนตฺตนิ อตฺตา" ดังนี้วิปลาสนี้ย่อมถึงการละตั้งอยู่ไม่ได้ ด้วยอนิมิตตวิโมกขมุข ฯ
       ในอุปาทาน 4 เหล่านั้น กามุปาทานและภวุปาทานย่อมถึงการละด้วยอัปปณิหิตวิโมกขมุข ทิฏฐุปาทานย่อมถึงการละด้วยสุญญตวิโมกขมุข อัตตวาทุปาทานย่อมถึงการละด้วยอนิมิตตวิโมกขมุข ฯ
       ในโยคะ 4 เหล่านั้น กามโยคะและภวโยคะย่อมถึงการละด้วยอัปปณิหิตวิโมกขมุข ทิฏฐิโยคะย่อมถึงการละด้วยสุญญตวิโมกขมุข อวิชชาโยคะย่อมถึงการละด้วยอนิมิตตวิโมกขมุขในคันถะ 4 เหล่านั้น อภิชฌากายคันถะและพยาปาทกายคันถะย่อมถึงการละด้วยอัปปณิหิตวิโมกขมุข ปรามาสกายคันถะย่อมถึงการละด้วยสุญญตวิโมกขมุข อิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะย่อมถึงการละด้วยอนิมิตตวิโมกขมุข ฯ
       ในอาสวะ 4 เหล่านั้น กามาสวะและภวาสวะย่อมถึงการละ ด้วยอัปปณิหิตวิโมกขมุข ทิฏฐาสวะย่อมถึงการละด้วยสุญญตวิโมกขมุข อวิชชาสวะย่อมถึงการละด้วยอนิมิตตวิโมกขมุข ฯ
       ในโอฆะ 4 เหล่านั้น กาโมฆะและภโวฆะย่อมถึงการละด้วยอัปปณิหิตวิโมกขมุข ทิฏโฐฆะย่อมถึงการละด้วยสุญญตวิโมกขมุข อวิชโชฆะย่อมถึงการละด้วยอนิมิตตวิโมกขมุข ฯ
       ในลูกศร 4 เหล่านั้น ลูกศรคือราคะ และลูกศรคือโทสะย่อมถึงการละด้วยอัปปณิหิตวิโมกขมุข ลูกศรคือมานะย่อมถึงการละด้วยสุญญตวิโมกขมุข ลูกศรคือโมหะย่อมถึงการละด้วยอนิมิตตวิโมกขมุข ฯ
       ในวิญญาณฐิติ 4 เหล่านั้น วิญญาณฐิติที่เข้าถึงรูป และวิญญาณฐิติที่เข้าถึงเวทนาย่อมถึงการละด้วยอัปปณิหิตวิโมกขมุข วิญญาณฐิติที่เข้าถึงสัญญาย่อมถึงการละด้วยสุญญตวิโมกขมุข วิญญาณฐิติที่เข้าถึงสังขารย่อมถึงการละด้วยอนิมิตตวิโมกขมุข ฯ
       ในอคติ 4 เหล่านั้น ฉันทาคติและโทสาคติย่อมถึงการละด้วยอัปปณิหิตวิโมกขมุข ภยาคติย่อมถึงการละด้วยสุญญตวิโมกขมุข โมหาคติย่อมถึงการละด้วยอนิมิตตวิโมกขมุข ฯ ธรรมทั้งปวง มีอาหารเป็นต้นมีปกติแล่นไปตามวัฏฏะกล่าวคือโลกอย่างนี้ ธรรมที่เป็นทิศฝ่ายสังกิเลส ย่อมออกไปจากโลกด้วยวิโมกขมุข 3 มี อนิจจานุปัสสนา เป็นต้น ด้วยประการฉะนี้ ฯ
       [86] ในธรรมเหล่านั้น การนำออกนี้ เป็นไฉน
       ปฏิปทา 4 สติปัฏฐาน 4 ฌาน 4 วิหารธรรม 4 สัมมัปปธาน 4อัจฉริยอัพภูตธรรม 4 อธิฏฐาน 4 สมาธิภาวนา 4 สุขภาคิยธรรม 4 และอัปปมัญญา 4 ฯ
       ปฏิปทาข้อที่ 1 (เป็นไปแล้ว) สติปัฏฐานข้อที่ 1 (ย่อมมี) ปฏิปทาข้อที่ 2เป็นสติปัฏฐานข้อที่ 2 ปฏิปทาข้อที่ 3 เป็นสติปัฏฐานข้อที่ 3 ปฏิปทาข้อที่ 4เป็นสติปัฏฐานข้อที่ 4 ฯ สติปัฏฐานข้อที่ 1 เป็นฌานที่ 1 สติปัฏฐานข้อที่ 2เป็นฌานที่ 2 สติปัฏฐานข้อที่ 3 เป็นฌานที่ 3 สติปัฏฐานข้อที่ 4 เป็นฌานที่ 4ฯ ฌานที่ 1 เป็นวิหารธรรมที่ 1 ฌานที่ 2 เป็นวิหารธรรมที่ 2 ฌานที่ 3 เป็นวิหารธรรมที่ 3 ฌานที่ 4 เป็นวิหารธรรมที่ 4 ฯ วิหารธรรมที่ 1 เป็นสัมมัปปธานที่ 1 วิหารธรรมที่ 2 เป็นสัมมัปปธานที่ 2 วิหารธรรมที่ 3 เป็นสัมมัปปธานที่ 3 วิหารธรรมที่ 4 เป็นสัมมัปปธานที่ 4 ฯ สัมมัปปธานที่ 1 เป็นอัจฉริยอัพภูตธรรมที่ 1 สัมมัปปธานที่ 2 เป็นอัจฉริยอัพภูตธรรมที่ 2 สัมมัปปธานที่ 3เป็นอัจฉริยอัพภูตธรรมที่ 3 สัมมัปปธานที่ 4 เป็นอัจฉริยอัพภูตธรรมที่ 4 ฯ
       อัจฉริยอัพภูตธรรมที่ 1 เป็นอธิฏฐานที่ 1 อัจฉริยอัพภูตธรรมที่ 2 เป็นอธิฏฐานที่ 2 อัจฉริยอัพภูตธรรมที่ 3 เป็นอธิฏฐานที่ 3 อัจฉริยอัพภูตธรรมที่ 4 เป็นอธิฏฐานที่ 4 ฯ อธิฏฐานที่ 1 เป็นสมาธิภาวนาที่ 1 อธิฏฐานที่ 2 เป็นสมาธิภาวนาที่ 2 อธิฏฐานที่ 3 เป็นสมาธิภาวนาที่ 3 อธิฏฐานที่ 4 เป็นสมาธิภาวนาที่ 4 ฯ สมาธิภาวนาที่ 1 เป็นสุขภาคิยธรรมที่ 1 สมาธิภาวนาที่ 2เป็นสุขภาคิยธรรมที่ 2 สมาธิภาวนาที่ 3 เป็นสุขภาคิยธรรมที่ 3 สมาธิภาวนาที่ 4 เป็นสุขภาคิยธรรมที่ 4 ฯ สุขภาคิยธรรมที่ 1 เป็นอัปปมัญญาที่ 1สุขภาคิยธรรมที่ 2 เป็นอัปปมัญญาที่ 2 สุขภาคิยธรรมที่ 3 เป็นอัปปมัญญาที่ 3สุขภาคิยธรรมที่ 4 เป็นอัปปมัญญาที่ 4 ฯ คืออย่างไรปฏิปทาที่ 1 อันพระโยคาวจรอบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสติปัฏฐานที่ 1 ให้บริบูรณ์,ปฏิปทาที่ 2 อันพระโยคาวจรอบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสติปัฏฐานที่ 2 ให้บริบูรณ์,ปฏิปทาที่ 3 อันพระโยคาวจรอบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสติปัฏฐานที่ 3 ให้บริบูรณ์,ปฏิปทาที่ 4 อันพระโยคาวจรอบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสติปัฏฐานที่ 4 ให้บริบูรณ์ ฯ
       สติปัฏฐานที่ 1 อันบุคคลอบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังฌานที่ 1ให้บริบูรณ์,
       สติปัฏฐานที่ 2 อันบุคคลอบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังฌานที่ 2ให้บริบูรณ์,
       สติปัฏฐานที่ 3 อันบุคคลอบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังฌานที่ 3ให้บริบูรณ์,
       สติปัฏฐานที่ 4 อันบุคคลอบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังฌานที่ 4ให้บริบูรณ์ ฯ
       ฌานที่ 1 อันบุคคลอบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังวิหารธรรมที่ 1ให้บริบูรณ์,
       ฌานที่ 2 อันบุคคลอบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังวิหารธรรมที่ 2ให้บริบูรณ์,
       ฌานที่ 3 อันบุคคลอบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังวิหารธรรมที่ 3ให้บริบูรณ์,
       ฌานที่ 4 อันบุคคลอบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังวิหารธรรมที่ 4ให้บริบูรณ์ ฯ
       วิหารธรรมที่ 1 อันบุคคลอบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังการไม่ให้เกิดขึ้นแห่งอกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่เกิดขึ้น ให้บริบูรณ์,วิหารธรรมที่ 2 อันบุคคลอบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังการละอกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้ว ให้บริบูรณ์,วิหารธรรมที่ 3 อันบุคคลอบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นให้เกิดขึ้น ให้บริบูรณ์,วิหารธรรมที่ 4 อันบุคคลอบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วให้ตั้งอยู่ ไม่หลงลืม ให้เจริญขึ้น ให้บริบูรณ์ ฯ
       สัมมัปปธานที่ 1 อันบุคคลอบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังการละมานะ ให้บริบูรณ์,สัมมัปปธานที่ 2 อันบุคคลอบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังการถอนขึ้นซึ่งความอาลัยให้บริบูรณ์,สัมมัปปธานที่ 3 อันบุคคลอบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังการละอวิชชาให้บริบูรณ์,สัมมัปปธานที่ 4 อันบุคคลอบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังการเข้าไปสงบแห่งภพให้บริบูรณ์ ฯ
       การละมานะ อันบุคคลอบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสัจจาธิฏฐานให้บริบูรณ์,
       การถอนขึ้นซึ่งความอาลัย อันบุคคลอบรมแล้ว กระทำให้มากแล้วย่อมยังจาคาธิฏฐานให้บริบูรณ์,การละอวิชชา อันบุคคลอบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังปัญญาธิฏฐานให้บริบูรณ์,การเข้าไปสงบภพ อันบุคคลอบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังอุปสมาธิฏฐานให้บริบูรณ์ ฯ
       สัจจาธิฏฐานอันบุคคลอบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังฉันทสมาธิให้บริบูรณ์,
       จาคาธิฏฐานอันบุคคลอบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังวิริยสมาธิให้บริบูรณ์,
       ปัญญาธิฏฐานอันบุคคลอบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังจิตตสมาธิให้บริบูรณ์,
       อุปสมาธิฏฐานอันบุคคลอบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังวิมังสาสมาธิ ให้บริบูรณ์ ฯฉันทสมาธิอันบุคคลอบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังอินทริยสังวรให้บริบูรณ์,
       วิริยสมาธิอันบุคคลอบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังตบะให้บริบูรณ์,จิตตสมาธิอันบุคคลอบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังพุทธิให้บริบูรณ์,วิมังสาสมาธิ อันบุคคลอบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังการสละคืนอุปธิทั้งปวงให้บริบูรณ์ ฯ
       อินทริยสังวร อันบุคคลอบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังเมตตาให้บริบูรณ์,
       ตบะ อันบุคคลอบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังกรุณาให้บริบูรณ์,พุทธิ อันบุคคลอบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังมุทิตาให้บริบูรณ์,สัพพูปธิปฏินิสสัคคะ อันบุคคลอบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังอุเบกขาให้บริบูรณ์ ฯ
       ธรรมที่เป็นทิศ 4 เป็นไฉน
       [87] ในธรรม 10 มีปฏิปทาเป็นต้นนั้น ทิศ 4 เหล่านั้น คือ ปฏิปทาที่ 1,สติปัฏฐานที่ 1 ฌานที่ 1 วิหารธรรมที่ 1 สัมมัปปธานที่ 1 อัจฉริยอัพภูตธรรมที่ 1,อธิฏฐานคือสัจจะ ฉันทสมาธิ อินทริยสังวร เมตตา ดังนี้ เป็นทิศที่ 1 ฯ
       ปฏิปทาที่ 2 สติปัฏฐานที่ 2 ฌานที่ 2 วิหารธรรมที่ 2 สัมมัปปธานที่ 2,อัจฉริยอัพภูตธรรมที่ 2 อธิฏฐานคือจาคะ วิริยสมาธิ ตบะ กรุณา ดังนี้ เป็นทิศที่ 2 ฯ ปฏิปทาที่ 3 สติปัฏฐานที่ 3 ฌานที่ 3 วิหารธรรมที่ 3 สัมมัปปธานที่ 3 อัจฉริยอัพภูตธรรมที่ 3 อธิฏฐานคือปัญญา จิตตสมาธิ พุทธิ มุทิตา ดังนี้เป็นทิศที่ 3 ฯ ปฏิปทาที่ 4 สติปัฏฐานที่ 4 ฌานที่ 4 วิหารธรรมที่ 4,สัมมัปปธานที่ 4 อัจฉริยอัพภูตธรรมที่ 4 อธิฏฐานคืออุปสมะ วิมังสาสมาธิสัพพูปธิปฏินิสสัคคะ อุเบกขา ดังนี้ เป็นทิศที่ 4 ฯ
       ในธรรม 10 เหล่านั้น พระสูตร 10 คือ ปฏิปทาที่ 1 สติปัฏฐานที่ 1,ฌานที่ 1 วิหารธรรมที่ 1 สัมมัปปธานที่ 1 อัจฉริยอัพภูตธรรมที่ 1 สัจจาธิฏฐานฉันทสมาธิ อินทริยสังวร เมตตา เหล่านี้ มีอรรถะอย่างเดียวกัน พยัญชนะเท่านั้นต่างกัน ธรรมนี้เป็นเภสัชชะ (ยาแก้โรค) แห่งบุคคลผู้ราคจริต ฯ
       ในธรรม 10 เหล่านั้น พระสูตร 10 คือ ปฏิปทาที่ 2 สติปัฏฐานที่ 2 ฌานที่ 2 วิหารธรรมที่ 2 สัมมัปปธานที่ 2 อัจฉริยอัพภูตธรรมที่ 2 จาคาธิฏฐานวิริยสมาธิ ตบะ และกรุณา เหล่านี้ มีอรรถะอย่างเดียวกัน พยัญชนะเท่านั้นต่างกัน ธรรมนี้เป็นยาแก้โรคของบุคคลผู้โทสจริต ฯ
       ในธรรม 10 เหล่านั้น พระสูตร 10 คือ ปฏิปทาที่ 3 สติปัฏฐานที่ 3 ฌานที่ 3 วิหารธรรมที่ 3 สัมมัปปธานที่ 3 อัจฉริยอัพภูตธรรมที่ 3 ปัญญาธิฏฐานจิตตสมาธิ พุทธิ มุทิตา เหล่านี้ มีอรรถะอย่างเดียวกัน พยัญชนะเท่านั้นต่างกันธรรมนี้เป็นยาแก้โรคของคนทิฏฐิจริตผู้มีปัญญาน้อย ฯ ในธรรม 10 เหล่านั้นพระสูตร 10 คือ ปฏิปทาที่ 4 สติปัฏฐานที่ 4 ฌานที่ 4 วิหารธรรมที่ 4สัมมัปปธานที่ 4 อัจฉริยอัพภูตธรรมที่ 4 อุปสมาธิฏฐาน วิมังสา สมาธิสัพพูปธิปฏินิสสัคคะและอุเบกขา เหล่านี้ มีอรรถะอย่างเดียวกัน พยัญชนะเท่านั้นต่างกัน ธรรมนี้เป็นยาแก้โรคของคนมีทิฏฐิจริตผู้มีปัญญาแก่กล้า ฯ
       ในปฏิปทา 4 นั้น ปฏิบัติลำบาก รู้ได้ช้า และปฏิบัติลำบาก รู้ได้เร็ว เป็นทางแห่งความหลุดพ้น (วิโมกฺขมฺุขํ) ชื่อว่า อัปปณิหิตะ ปฏิบัติสบาย รู้ได้ช้า เป็นทางแห่งความหลุดพ้น ชื่อว่า สุญญตะ ปฏิบัติสบาย รู้ได้เร็ว เป็นทางแห่งความหลุดพ้น ชื่อว่า อนิมิตตะ ฯ
       ในสติปัฏฐาน 4 นั้น สติปัฏฐาน คือ การพิจารณาเห็นกายในกาย และสติปัฏฐาน คือ การพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายเป็นอัปปณิหิตวิโมกขมุขสติปัฏฐาน คือ การพิจารณาเห็นจิตในจิตเป็นสุญญตวิโมกขมุข สติปัฏฐาน คือการพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายเป็นอนิมิตตวิโมกขมุข ฯ
       ในฌาน 4 นั้น ปฐมฌานและทุติยฌานเป็นอัปปณิหิตวิโมกขมุข ตติยฌานเป็นสุญญตวิโมกขมุข จตุตถฌานเป็นอนิมิตตวิโมกขมุข ฯ
       ในวิหารธรรม 4 นั้น วิหารธรรมที่ 1 และวิหารธรรมที่ 2 เป็นอัปปณิหิตวิโมกขมุข วิหารธรรมที่ 3 เป็นสุญญตวิโมกขมุข วิหารธรรมที่ 4 เป็นอนิมิตตวิโมกขมุข ฯ
       ในสัมมัปปธาน 4 นั้น สัมมัปปธานที่ 1 และสัมมัปปธานที่ 2 เป็นอัปปณิหิตวิโมกขมุข สัมมัปปธานที่ 3 เป็นสุญญตวิโมกขมุข สัมมัปปธานที่ 4เป็นอนิมิตตวิโมกขมุข ฯ
       ในอัจฉริยอัพภูตธรรม 4 นั้น การละมานะ และการถอนขึ้นซึ่งความอาลัยเป็นอัปปณิหิตวิโมกขมุข การละอวิชชาเป็นสุญญตวิโมกขมุข การยังภพให้สงบเป็นอนิมิตตวิโมกขมุข ฯ
       ในอธิฏฐาน 4 นั้น สัจจาธิฏฐาน และจาคาธิฏฐานเป็นอัปปณิหิตวิโมกขมุขปัญญาธิฏฐานเป็นสุญญตวิโมกขมุข อุปสมาธิฏฐานเป็นอนิมิตตวิโมกขมุข ฯ
       ในสมาธิ 4 นั้น ฉันทสมาธิ และวิริยสมาธิเป็นอัปปณิหิตวิโมกขมุข จิตตสมาธิเป็นสุญญตวิโมกขมุข วิมังสาสมาธิเป็นอนิมิตตวิโมกขมุข ฯ
       ในสุขภาคิยธรรม 4 นั้น อินทริยสังวรและตบะเป็นอัปปณิหิตวิโมกขมุขพุทธิ (โพชฌงค์) เป็นสุญญตวิโมกขมุข สัพพูปธิปฏินิสสัคคะเป็นอนิมิตตวิโมกขมุข ฯ
       ในอัปปมัญญา 4 นั้น เมตตา และกรุณาเป็นอัปปณิหิตวิโมกขมุขมุทิตาเป็นสุญญตวิโมกขมุข อุเบกขาเป็นอนิมิตตวิโมกขมุข ฯ
       สีหวิกกีฬิตนัยวิกกีฬิตะใด กล่าวคือการก้าวล่วง และการละซึ่งกิเลสวัตถุ 10 หมวด มีอาหาร 4 เป็นต้น วิกกีฬิตะใด กล่าวคือการเจริญกุศลธรรม 10 หมวด มีปฏิปทา 4 เป็นต้น วิกกีฬิตะใด กล่าวคือการกระทำพระนิพพานให้แจ้ง ทั้ง 3นัยนี้ เป็นวิกกีฬิตะของพระอริยะผู้พ้นแล้วเหล่านั้น ฯ
       ความที่ธรรมเหล่านั้นเป็นปฏิปักษ์กัน ความที่ธรรมเหล่านั้นอันบุคคลพึงละ ความที่ธรรมเหล่านั้นเป็นผู้ละ พึงทราบด้วยอำนาจฉันทราคะที่ผูกพันกับสิ่ง
       นั้น ๆ ดังนี้
       อาหาร 4 มีอยู่ ปฏิปทา 4 เป็นปฏิปักษ์ต่ออาหารเหล่านั้น ฯลฯ วิปลาส 4มีอยู่ สติปัฏฐาน 4 เป็นปฏิปักษ์ต่อวิปลาสเหล่านั้น ฯ อุปาทาน 4 มีอยู่ ฌาน 4เป็นปฏิปักษ์ต่ออุปาทานเหล่านั้น ฯ โยคะ 4 มีอยู่ วิหารธรรม 4 เป็นปฏิปักษ์ต่อโยคะเหล่านั้น ฯ คันถะ 4 มีอยู่ สัมมัปปธาน 4 เป็นปฏิปักษ์ต่อคันถะเหล่านั้นฯ
       อาสวะ 4 มีอยู่ อัจฉริยอัพภูตธรรม 4 เป็นปฏิปักษ์ต่ออาสวะเหล่านั้น ฯ โอฆะ 4 มีอยู่ อธิฏฐาน 4 เป็นปฏิปักษ์ต่อโอฆะเหล่านั้น ฯ ลูกศร 4 มีอยู่ สมาธิภาวนาเป็นปฏิปักษ์ต่อลูกศรเหล่านั้น ฯ วิญญาณฐิติ 4 มีอยู่ สุขภาคิยธรรม 4 เป็นปฏิปักษ์ต่อวิญญาณฐิติเหล่านั้น ฯ การถึงอคติ 4 มีอยู่ อัปปมัญญา 4 เป็นปฏิปักษ์ต่อการถึงอคติเหล่านั้น ฯ
       พระพุทธเจ้าทั้งหลาย พระปัจเจกพุทธะและพระสาวกทั้งหลาย ผู้ฆ่าราคะโทสะ โมหะแล้ว ชื่อว่า สีหะ การเจริญโพธิปักขิยธรรมที่ควรเจริญ การกระทำให้แจ้งซึ่งผลและนิพพานอันควรกระทำให้แจ้ง การกระทำให้สิ้นไปไม่เหลือแห่งกองกิเลส ชื่อว่า วิกกีฬิตะ ของพระอริยะผู้เป็นสีหะเหล่านั้น ฯ อธิฏฐานคือการเป็นไป การเจริญ และการกระทำให้แจ้งแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย ชื่อว่า วิกกีฬิตะและการละ ไม่ให้วิปลาสเกิดขึ้นเป็นไป ชื่่อว่า วิกกีฬิตะ ฯ อินทรีย์มีสัทธินทรีย์เป็นต้น เป็นอารมณ์แห่งสัทธรรมในฝ่ายแห่งโวทาน เป็นเหตุละวิปลาส เป็นอารมณ์แห่งกิเลส นัยนี้เป็นภูมิแห่งนัย ชื่อว่า สีหวิกกีฬิตะและทิสาโลจนะ ฯ
       เพราะเหตุนั้น ท่านพระมหากัจจายนะจึงกล่าวว่า "นัยใด ย่อมนำไปซึ่งสังกิเลสทั้งหลาย เพราะเป็นอารมณ์วิปลาสทั้งหลาย" เป็นต้น และในการวิสัชชนาอรรถะแห่งพระสูตรว่า "ธรรมเหล่าใดเป็นกุศลและอกุศล" เป็นต้น ฯ
       +ติปุกขลนัย
[ค้นหา] [สารบัญ] <ก่อนนี้] [ถัดไป>
(ไม่สงวนลิขสิทธิ์)